สีในโรงงาน รู้ไว้เพื่อความปลอดภัยในโรงงาน

แถบสีในโรงงาน รู้ไว้เพื่อความปลอดภัยในโรงงาน

แอป จป. Factorium

แถบสีในโรงงาน นั้นมีความจำเป็นของการทำงานในโรงงาน ซึ่งความปลอดภัยนั้นถือเป็นสำคัญ สัญลักษณ์ หรือ แม้นกระทั้งสีนั้นเป็นสิ่งที่ถือได้ว่ามีความสำคัญเพราะเป็นสิ่งที่คนเรานั้นสังเกตและจดจำได้ง่ายมากที่สุด ในโรงงานเองนั้นในส่วนของแผนกก็มีมากมายในโรงงาน และสิ่งที่สำคัญการที่มีเครื่องจักรนั้นอยู่ภายในโรงงานนั่นก็หมายความว่าต้องมีความระมัดระวังทุกครั้งที่มีการใช้งาน วันนี้ทาง Factorium ขอหยิบยกประเด็นเรื่องของการใช้แถบสีในโรงงาน กันว่ามีความสำคัญอย่างไรที่ทุกโรงงานควรปฏิบัติตาม

ภาพ 4 แถบสีในโรงงาน

แถบสีในโรงงาน ที่เราเห็นเป็นประจำ

อย่าที่เราเห็นกันดีในหนังสืบสวนสอบสวนคดีนั้นเวลาที่ มีการเกิดเหตุร้ายในที่เกิดเหตุตำรวจก็จะใชะเทปสีกั้นในบริเวณที่เกิดเหตุ แต่สิ่งหนึ่งที่ทำ ให้เราสังเกตนั้นก็คือการที่พื้นที่เกิดเหตุนั้นมีเทปสีเหลืองและสีดำกั้นอยู่แล้วเคยสงสัยมั้ยว่าเทปสีนั้นมีความหมายว่าอะไร วันนี้ทาง Factorium ขอพาเพื่อนๆไปรู้จักกับแถบสีในพื้นที่ว่ามีความหมายอย่างไรบ้าง ? ซึ่งถ้าหากเพื่อนๆได้รูปแล้วรับรองว่าเป็นประโยชน์อย่างแน่นอนครับ เรามาเริ่มที่สิ่งที่เราสังเกตกันง่ายที่สุดกันก่อนเลย นั้นก็คือสี ซึ่งเป็นสิ่งที่เราจะสังเกตและจดจำได้ง่ายมากที่สุด ซึ่งสีและสัญลักษณ์ในโรงงานนี้ก็จำแนกได้ง่ายๆเป็น 4 สีด้วยกัน

ภาพ สีและความหมายการเตือน

สีแดง = หยุด , ห้าม หรือ บางที่อาจจะเป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับไฟ อย่างที่เราสังเกตกันเป็นอย่างดีว่า สีแดงนั้นให้ความรู้สึกที่เร้าร้อนและอันตรายซึ่ง ทั้ง 2 เครื่องหมายนี้มีความแตกต่างกัน โดยเครื่องหมายหยุด หรือ ห้ามจะมีลักษณะเป็นวงกลมและมีสีแดงพาด ส่วนถ้าเป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับเพลิง หรือ ไฟ จะเป็นรูปสี่เหลี่ยม

สีฟ้า = บังคับ สีฟ้าให้ความรู้สึกที่น่าเชื่อถือเมื่อให้คาวมรู้สึกแบบนี้นั้น จึงเหมาะสำหรับการนิยมใช้แทนสัญญลักษณ์ที่ต้องปฏิบัติ ซึ่งถ้าปฏิบัติแล้วก็จะทำให้เชื่อว่าปลอดภัย สีนี้เป็นการบังคับให้ปฏิบัตินั่นเองรูปร่างของสัญลักษณ์นี้มักจะเป็นรูปวงกลม ยกตัวอย่างจากรูป เช่น สัญลักษณ์รูปคนใส่หมวก หมายความว่า”ต้อง”สวมใส่หมวกนิรภัยในพื้นที่ในการทำงานก่อสร้าง

สืเหลือง = เตือน เป็นสีที่เป็นความรู้สึกที่เกือบจะอันตรายหรือเกือบเป็นสีแดงที่เป็นอันตราย จึงเหมาะสำหรับการที่เป็นป้ายแจ้งเตือนก่อนเกิดอันตรายและเพื่อระมัดระวังอันตรายที่จะเกิดขึ้น โดนป้ายแจ้งเตือนนี้ควรจะทำให้โดดเด่น ส่วนใหญ่จะเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าในสัญลักษณ์เป็นสีเหลืองตัดขอบด้วยสีดำ ยกตัวอย่างเช่นพื้นที่นั้นมีการล้างห้องน้ำใหม้โดยพื้นยังไม่แห้ง ก็จะเป็นป้ายสัญลักษณ์เตือนว่าระวังพื้นลื่น เพื่อป้องกันอันตรายให้กับผู้พบเห็นสัญลักษณ์นี้ให้ระมัดระวังเพิ่มมากขึ้น

เขียว = ปลอดภัย อย่างที่คนเรานั้นมองเห็นได้ว่าสีเขียวนั้นทำให้รู้สึกเย็นตาสดชื่น และยังให้ความรู้สึกที่ถูกต้องปลอดภัย สัญลักษณ์ที่ใช้สีนี้ก็ควรจะเป็นสัญลักษณ์ที่ทำแล้วปลอดภัยหรือป้องกันอันตรายโดยสัญลักษณ์นี้ส่วนใหญ่ที่เราสังเกตได้ง่ายๆคือเป็นรูปสี่เหลี่ยม เช่น ในพื้นที่นั้นมีจุดไว้กลางแจ้งในการอพยพคนจากที่เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ ซึ่งก็อาจจะเห็นจากการซ้อมหนีไฟได้เป็นอย่างดีนั่นก็คือจุดรวมพลที่เป็นป้ายสีเขียวและเป็นรูแคนจำนวนมากนั่นเองครับ

นอกจากสัญลักษณ์ในโรงงานอุตสาหกรรมที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีแล้ว นั้นสิ่งที่ในโรงงานส่วนใหญ่มีนั้นก็จะเป็นแถบสีในพื้นที่โรงงานที่จะเห็นเป็นแถบ 2 สีซะส่วนใหญ่ ที่เราคุ้นกันเป็นอย่างดีนั่นก็คือสีเหลืองดำถูกต้องไหมครับ แต่แถบสีมีมากกว่านั้นนะสิครับว่าแต่ แต่ละสีนั้นมีความหมายอย่างไรเรามาไขคำตอบพร้อมกันเลยนะครับ

ไขคำตอบของ 4แถบสีที่เห็นในพื้นที่

ภาพ แถบสีในพื้นที่โรงงาน

โรงงานส่วนใหญ่นั้นก็มีพื้นที่ที่บางตำแหน่งงานนั้นเข้าไปก็อาจจะก่อให้เกิดอันตรายหรือผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องนั้นเข้าไปในพื้นที่นั้นแล้วเกิดอันตรายก็ิาจจะทำให้ทางโรงงานนั้นเกิดความเดือดร้อนทางทัพย์สินได้ สิ่งที่เป็นเครื่องมือนที่ทำให้ททางโรงงานส่วนใหญ่นั้นนิยมทำก็คือการแบ่งเขตพื้นที่ ซึ่งการแบ่งเขตพื้นที่นั้นบางครั้งถ้าเป็นคนจากภายนอกโรงงานก็อาจจะทำให้ไม่รู้ว่าพื้นที่ไหนเป็นเขตหวงห้ามบ้างซึ่งนั่นก็จะเป็นหน้าที่หลักของ แถบสีต่างๆที่เข้าใาแบ่งเตพื้นที่นั่นเองครับ โดยก็จะสามารถแบ่งได้ง่ายๆเป็น 4แถบสีด้วยกัน

ภาพ ความหมายของ 4 แถบสี

ข้อมูลจากสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน) ได้กำหนดแถบสีไว้ว่าในแถบสีที่ใช้แถบสีนั้นจะต้องมีความกว้างและมีขนาดเท่ากันต้องเอียงทำมุม 45 องศามาดูกันที่แถบแรกกันเลยครับ

แถบสีเหลืองดำ – กำหนดให้เป็นแถบที่แสดงพื้นที่อันตรายหรือพื้นที่ที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่นี้ระมัดระวังเป็นพิเศษ

แถบสีขาวแดง – กำหนดให้เป็นแถบที่แสดงพื้นที่ที่เป็นเขตหวงห้ามซึ่งเป็นพื้นที่เฉพาะหรือต้องได้รับอนุญาตก่อนการเข้าพื้นที่นี้เท่านั้น

ภาพ ความหมายของ 4 แถบสี

แถบสีขาวฟ้า – กำหนดให้เป็นแถบที่แสดงพื้นที่บังคับให้ปฏิบัติ อย่างเช่นในโรงงานนั้นมีการก่อสร้างจึงได้กำหนดจุดก่อนที่พนักงานเข้าทำงานให้มีการสวมหมวกนิรภัยทุกครั้ง

แถบขาวเขียว – กำหนดให้เป็นแถบให้แสดงเกี่ยวกับพื้นที่ที่มีสภวะปลอดภัยเช่นในพื้นที่นั้นมีพื้นที่โล่งแจ้งสำหรับการอพยพก่อนการเกิดเหตุอัคคีภัยห็จะเป็แถบนี้นั่นเอง

ป้องกันก่อนการเกิดความเสี่ยงในโรงงานด้วย Factorium CMMS



ภาคอุตสาหกรรมถ้าหากขาดระบบบริหารงานซ่อมบำรุงอาคาร ที่มีประสิทธิภาพไปก็จะทำให้ การดำเนินการรักษานั้นหยุดชะงักลง และสิ่งที่ตามต่อมาเชื่อได้ว่าผลกระทบนั้นจะแผ่ขยายออกเป็นวงกว้าง ดังนั้นการมีระบบซ่อมบำรุงอาคารที่ที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถช่วยให้อุตสาหกรรมทั้งขนาดเล็กไปจนถึงภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่จะมาช่วยให้ลดภาระงานส่งผลทำให้องค์กรสามารถมีเวลาที่จะบริหารงานส่วนอื่น  ๆ ซึ่งการมีเวลาในการบริหารส่วนอื่น ๆ เพิ่มนี้ก็จะสามารถทำให้องค์กรมีการเจริญเติบโตที่สูงขึ้น เพราะงานในภาคอุตสาหกรรมนั้นมีหลายส่วนที่อาจจะใช้เวลาในการบริหารที่นาน จะดีกว่าหรือไม่ถ้ามีสิ่งที่เข้ามาช่วยให้อุตสาหกรรมนั้นประหยัดเวลา และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถอ่านบทความอย่างละเอียดได้ที่ ความสำคัญของระบบ CMMS ในงานซ่อมบำรุง – Factorium

Website: https://factorium.tech/
Facebook: https://www.facebook.com/factorium.tech
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCAHWs01GOZJ2_8gehIsdGpw

Visitors: 434,691