การบังคับกฎหมายความปลอดภัย

การบังคับกฎหมายความปลอดภัย กรณีมีลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าตามข้อกฎหมายด้านล่างนี้

Post on 25 ตุลาคม 2562
 
by Area3
   
ฮิต: 2321

การบังคับกฎหมายความปลอดภัย กรณีมีลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าตามข้อกฎหมายด้านล่างนี้

ในแง่ของนายจ้างผู้ต้องปฏิบัติตามกฎหมายนี้ จะต้องรู้ว่า หากบริภัณฑ์ไฟฟ้ามีแรงดันไฟฟ้าเกินกว่า 50 vac ย่อมก่อให้เกิดหน้าที่ของนายจ้างจะต้องจัดให้มีมาตรฐานการทำงานเพื่อป้องกันมิให้เกิดอันตรายจากไฟฟ้าแก่ลูกจ้าง โดยการจัดให้มีที่ปิดกั้นหรือแผ่นฉนวนไฟฟ้าปูไว้พื้นเพื่อป้องกันอันตรายจากการสัมผัส การไม่ทำหน้าที่ของนายจ้างหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานดังกล่าว ย่อมเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการทำงานตามกฎหมายและเป็นความผิดสำเร็จทันทีที่ไม่ได้ทำหน้าที่ แม้การไม่ปฎิบัติตามหน้าที่หรือมาตรฐานดังกล่าวจะยังไม่ทำให้เกิดอันตรายจากไฟฟ้ากับลูกจ้างหรือผู้เกี่ยวข้องก็ตาม
เพราะกฎหมายมิได้กำหนดหนดผลของการฝ่าฝืนหรือทำผิดว่าจะต้องทำให้ลูกจ้างหรือผู้หนึ่งผู้ใดบาดเจ็บหรือถึงแก่ความตาย เนื่องกฎหมายกำหนดให้นายจ้างทำหน้าที่เพื่อป้องกันผล คือ อันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่ลูกจ้าง หรือผู้เกี่ยวข้อง

เมื่อการไม่ทำหน้าที่หรือมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนดเป็นความผิด และกำหนดบทลงโทษไว้ ย่อมทำให้ผู้มีหน้าบังคับใช้กฎหมายคือพนักนักงานตรวจความปลอดภัย สามารถออกคำสั่งทางปกครองตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ สั่งให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายให้ถูกต้องภายในกำหนดเวลา หรือ จะบังคับใช้กฎหมายด้วยการดำเนินคดีอาญา แก่นายจ้าง และผู้ต้องร่วมรับผิดได้ทันที เเม้จะไม่มีลูกจ้างหรือบุคคลใดได้รับอันตรายจากไฟฟ้าก็ตาม

เมื่อผลการฝ่าฝืนกฎหมายของนายจ้างก่อให้เกิดอำนาจของเจ้าหน้าที่ในการบังคับกฎหมายด้วยการออกคำสั่งพนักงานตรวจฯ หรือ ดำเนินคดีอาญา ทางหนึ่งทางใดเท่านั้น ในทางปฏิบัติหน่วยงานจะวางระเบียบให้เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายทางหนึ่งทางใดเพื่อให้มีมาตรฐานการทำงาน มิให้เกิดการลักลั่น กลั่นแกล้ง เลือกปฏิบัติแก่นายจ้างในการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ (ตามระเบียบการตรวจ สปก.และระเบียบการดำเนินคดีอาญา)

 

Visitors: 434,138