หน้าแรก >
ความปลอดภัยด้านเครื่องจักร
ความปลอดภัยด้านเครื่องจักร
เจตนารมณ์ของกฎหมาย
เพื่อควบคุมป้องกันอันตรายลูกจ้างจากการทำงานกับเครื่องจักร
ขอบเขตของกฎหมายและการบังคับใช้
ใช้บังคับกับสถานประกอบการทุกประเภทที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปที่มีการใช้เครื่องจักร
สาระสำคัญของกฎหมาย
1. กำหนดเรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ดังนี้
1.1 เครื่องจักรที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ต้องมีสายดินเพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว
1.2 การเดินสายไฟฟ้าเข้าเครื่องจักร ต้องลงมาจากที่สูง ทั้งนี้ให้ใช้ท่อร้อยสายไฟ
1.3 เครื่องปั้มวัตถุโดยใช้เท้าเหยียบครอบป้องกัน
1.4 เครื่องปั้มวัตถุที่ใช้มือป้อน เครื่องป้อนวัตถุแทนมือ
1.5 เครื่องปั้มหรือเครื่องตัดวัดงานใช้มือป้อน ต้องให้มีสวิตซ์ 2 แห่ง
1.6 เครื่องจักรที่มีการถ่ายทอดพลังงาน เช่น เพลา สายพาน ปลุเล่ ไฟสวีล ต้องมีตะแกรงเหล็กเหนียวครอบในส่วนที่หมุน และส่วนส่งถ่ายกำลัง
1.7 ใบเลื่อยวงเดือน ต้องมีที่ครอบใบเลื่อยในส่วนที่สูงเกินพื้นโต๊ะ
1.8 เครื่องลับ ฝน หรือแต่งผิวโลหะ ต้องมีเครื่องปิดกั้นประกายไฟหรือเศษวัตถุ
1.9 กำหนดมาตรการการใช้เครื่องมือกล
2. การจัดเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้ลูกจ้างสวมใส่
แนวการตรวจของผู้ตรวจติดตามภายใน
ผู้ตรวจสอบควรตรวจสอบเป็นลำดับขั้นตอนดังนี้
1. รอบบริเวณที่ตั้งเครื่องจักร ทางเดินเข้า-ออกจากที่ปฏิบัติงานกับเครื่องจักร ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 80 ซม. รอบบริเวณมีการจัดทำรั้วคอกกั้น หรือแสดงเส้นเขตอันตรายสำหรับเครื่องจักรทำงานที่อาจเป็นอันตราย
2. เครื่องจักร
2.1 ประเภทของเครื่องจักร ความต้องการในด้านความปลอดภัยภัยจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละประเภทของ เครื่องจักร
2.1.1 เครื่องลับ ฝน หรือแต่งผิวโลหะ ต้องมีเครื่องปิดกั้นประกายไฟ
2.1.3 เครื่องเลื่อยวงเดือน ต้องมีที่ครอบใบเลื่อยในส่วนที่สูงเกินกว่าพื้นโต๊ะหรือแท่น
2.1.4 เครื่องตัดวัตถุที่ใช้พลังงานไฟฟ้าโดยใช้มือป้อนต้องมีสวิตซ์กดด้วยมือ 2 แห่ง
2.1.5 เครื่องปั๊มวัตถุ
- แบบใช้น้ำหนักเหวี่ยง ให้ติดตั้งตัวน้ำหนักเหวี่ยงไว้สูงกว่าศีรษะผู้ปฏิบัติงาน
- กรณีใช้มือป้อน ต้องมีเครื่องป้องกันมือให้พ้นจากแม่ปั๊มหรือจัดหาเครื่องป้อนวัตถุแทนมือ
- กลไกการทำงาน (ใช้มือป้อนชิ้นงาน) ถ้าใช้เป็นสวิตซ์กดให้เครื่องจักรทำงาน ต้องมีสวิตซ์ 2 แห่ง ถ้าใช้เท้า เหยียบให้เครื่องจักรทำงาน ต้องมีที่พักเท้าและมีที่ครอบป้องกันมิให้เหยียบโดยไม่ตั้งใจ
2.1.6 สายพานแขวนลอยที่มีความเร็วไม่น้อยกว่า 540 เมตรต่อนาที หรือสายพานที่มีช่วงยาวเกินกว่า 3 เมตร หรือ สายพานที่กว้างกว่า 20 ซม. หรือสายพายโซ่ ต้องมีที่ครอบรองรับ ซึ่งเปิดซ่อมแซมได้
2.1.7 เครื่องจักรชนิดอัตโนมัติต้องมีสีเครื่องหมายปิด-เปิดที่สวิตซ์อัตโนมัติ
2.1.8 ไม่นำรถยก รถปั้นจั่น หรือเครื่องมือยกอื่นๆ ไปใช้ปฏิบัติงานใกล้สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
2.2 การเดินสายไฟฟ้า
2.2.1 การเดินสายไฟฟ้าเข้าเครื่องจักร ต้องเดินฝังดินหรือเดินลงจากที่สูง โดยต้องใช้ท่อร้อยสายไฟ เว้นแต่ใช้สาย ไฟฟ้าชนิดที่มีฉนวนหุ้มเป็นพิเศษ
2.2.2 เครื่องจักรที่ใช้ไฟฟ้าต้องต่อสายดินที่ได้มาตรฐาน
2.3 การทำงานของเครื่องจักร เครื่องจักรต่างๆ ต้องไม่ทำงานเกิดพิกัดที่ผู้ผลิตกำหนดไว้
3. ผู้ปฏิบัติงาน
3.1 การแต่งกาย การสวมใส่เครื่องนุ่งห่มต้องเรียบร้อย รัดกุมไม่ขาดรุ่งริ่ง ผมต้องไม่ไว้ยาว และไม่ใส่เครื่องประดับที่อาจ ไปเกี่ยวโยงกับการทำงานของเครื่องจักร
3.2 การสวมอุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคล ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ซึ่งสรุป
เป็น ตารางดังที่แนบ
กรณีการติดตั้งหรือซ่อมแซมเครื่องจักร
หากตรวจพบมีการติดตั้งหรือซ่อมแซมเครื่องจักร จะต้องมีป้ายปิดประกาศไว้ ณ ที่นั้น และแขวนป้ายห้ามเปิดสวิตซ์ไว้ที่สวิตซ์
ขอบคุณข้อมูลจาก : moodythai.com
Visitors: 434,031