ความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักร1

ความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักร

 

บทความโดย: ประวิทย์ เทพสงเคราะห์

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องจักร

กฎหมายการทํางานเกี่ยวกับ เครื่องจักร ปั้นจั่น และ หม้อน้ำ 2564

บ่อยครั้งที่พนักงานที่ปฏิบัติงานกับเครื่องจักรชนิดต่างๆ นั้นเกิดอุบัติเหตุระหว่างทำงานโดยสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุนั้นมีหลายปัจจัยเช่น เกิดจาก สภาพการณ์เครื่องมือ หรือ อุปกรณ์ไม่ปลอดภัย (Hardware) เกิดจากวิธีการทำงานไม่ปลอดภัย (Software) และ ความประมาทของตัวบุคคล (Hunman ware) ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเองเป็นส่วนมาก

ในกฎหมายเกี่ยวกับเครื่องจักร ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

“เครื่องจักร”  หมายความว่า  สิ่งที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้นสำหรับก่อกำเนิดพลังงาน เปลี่ยนหรือแปลงสภาพพลังงาน หรือส่งพลังงาน ทั้งนี้ ด้วยกำลังน้ำ ไอน้ำ เชื้อเพลิง ลม ก๊าซ ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และหมายความรวมถึงเครื่องอุปกรณ์ ล้อตุนกำลัง รอก สายพาน เพลา เฟือง หรือสิ่งอื่นที่ทำงานสัมพันธ์กัน รวมทั้งเครื่องมือกล 

เรียกได้ว่าครอบจักรวาลกันเลยทีเดียวไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใดก็ตามที่มีส่วนประกอบ หรือกลไกเหล่านี้เข้าใจตรงกันว่าอยู่ในการบังคับใช้ตามกฎหมายฉบับนี้นะครับไปกันต่อ..

“เครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร” หมายความว่าส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบหรือติดตั้งไว้บริเวณที่อาจเป็นอันตรายของเครื่องจักรเพื่อช่วยป้องกันอันตรายแก่บุคคลที่ควบคุมหรืออยู่ในบริเวณใกล้เคียง

หากพูดตามเจตนารมณ์ของกฎหมายสรุปได้ดังนี้

ข้อ 6 นายจ้างต้องดูแลให้ลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรปฏิบัติ คำว่านายจ้างก็ไม่ใช่แต่เพียงเจ้าของเพราะในที่นี้คนที่ดูแลพนักงาน หรือ เรียกอีกชื่อคือตัวแทนนายจ้างก็ได้แก้ จป.บริหาร จป.หัวหน้างานนี่เอง จะต้องช่วยกันควบคุมดูแลให้พนักงานต้องปฏิบัติดังนี้

  1. สวมใส่เครื่องนุ่งห่มให้เรียบร้อยรัดกุม (จำทำเป็น WI การแต่งตัวเลยจะเยี่ยมยอดมาก)
  2. ไม่สวมใส่เครื่องประดับที่อาจเกี่ยวโยงกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ (ควรกำหนดในกฎระเบียบการทำงาน)
  3. รวบผมที่ปล่อยยาวเกินสมควรหรือทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้อยู่ในลักษณะที่ปลอดภัย (กฎหมายไม่ได้บอกว่าห้ามคนผมยาวทำงานนะแต่บอกว่าให้รวบผมให้เรียบร้อย)

จากข้อกำหนดของกฎกระทรวงข้างต้น บริษัทหรือนายจ้างควร กำหนดเป็นกฎระเบียบขึ้นมา จัดทำ WI ให้ชัดเจน และกำหนดให้พนักงานต้องปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน

ข้อ 7 บริเวณที่มีการติดตั้ง ซ่อมแซม หรือการตรวจสอบเครื่องจักร หรือเครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร นายจ้างต้องติดป้ายแสดงการดำเนินการดังกล่าวโดยใช้เครื่องหมายหรือข้อความที่เข้าใจง่ายและเห็นได้ชัดเจน รวมทั้งใช้ระบบ วิธีการ หรืออุปกรณ์ป้องกัน ไม่ให้เครื่องจักรนั้นทำงาน และแขวนป้ายแสดงเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ห้ามเปิดสวิตช์ไว้ที่สวิตช์ของเครื่องจักรด้วย

จากข้อกำหนดข้างต้น ควรจัดให้มีระบบการขออนุญาตทำงาน (Workpermit) รวมไปถึงการทำระบบ Logout Tagout (LOTO) เข้ามาใช้ ในการทำงานกับเครื่องจักร พร้อมติดป้ายเตือนให้เรียบร้อยเป็นอันจบ

ข้อ 8 การประกอบ การติดตั้ง การทดสอบ การใช้ และ การซ่อมแซม การบำรุงรักษา การตรวจสอบ การรื้อถอน หรือการเคลื่อนย้ายเครื่องจักร รถยก ลิฟต์ เครื่องจักรที่ใช้ยกคนขึ้นทำงานบนที่สูง จะต้องปฏิบัติตามคู่มือที่ผู้ผลิตกำหนดเอาไว้ หากไม่มีรายละเอียดหรือคู่มือในการใช้งานเครื่องจักร นายจ้างต้องจัดให้มีวิศวกรเป็นผู้จัดทำรายละเอียดคุณษณะและคู่มือการใช้งานเป็นหนังสือ และต้องมีสำเนาเก็บไว้ให้ราชการสามารถตรวจสอบภายหลังได้อีกด้วย

ข้อ 9 นายจ้างต้องดูแลให้ลูกจ้างที่ทำงานกับเครื่องจักร ตรวจสอบเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพดีและปลอดภัยก่อนการใช้งาน ตามระยะเวลาการใช้งานที่เหมาะสม และจัดให้มีการตรวจรับรองประจำปีตามชนิดและประเภทที่อธิบดีประกาศกำหนด

และนี่คือเหตุผลว่า ทำไมต้องกำหนดให้มีการตรวจสอบเครื่องจักรตามการใช้งาน เช่น การตรวจสอบเครื่องจักรประจำวัน (Machine daily check) ก่อนการใช้งาน โดยผู้ใช้งานเอง หรือการตรวจสอบตามรอบที่กำหนด เช่น การตรวจสอบปั้นจั่น ลิฟต์ เป็นต้น

ข้อ 7 ห้ามมิให้นายจ้างใช้หรือยินยอมให้ลูกจ้างใช้เครื่องจักรทำงานเกินพิกัดหรือขีดความสามารถที่ผู้ผลิตกำหนด

จะเห็นว่า ปั้นจั่น รถยก ลิฟต์ หรืออุปกรณ์การยกอื่น จะติดป้ายพิกัดน้ำหนักไว้ อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นพิกัดนำหนักที่กำหนดไว้ 

ข้อ 8 เครื่องปั๊มโลหะ เครื่องเจีย เครื่องตัด เครื่องไส หรือเครื่องจักรที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้โดยสภาพ นายจ้างต้องประกาศกำหนดวิธีการทำงาน และติดไว้บริเวณที่ลูกจ้างทำงาน

กฎกระทรวงกำหนดว่า นายจ้างต้องประกาศกำหนดวิธีการทำงานและติดไว้บริเวณที่ลูกจ้างทำงาน เราจึงเห็นว่า จุดทำงานของลูกจ้าง จะมีเอกสารขั้นตอนการทำงาน หรือเอกสารวิธีการทำงาน ติดเอาไว้ และมีการอบรมให้กับพนักงานที่ปฏิบัติงานนั้น เพื่อให้รู้และเข้าใจถึงวิธีการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย หรือเรียกสั้นๆว่า“WI (Work Instruction) หรือ WS (Work Standard)”หรือชื่ออื่นๆ ที่ใช้เรียกกัน ภายในสถานประกอบการนั้นๆ

ข้อ 9 ในกรณีที่ลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับเครื่องปั๊มโลหะ เครื่องเชื่อมไฟฟ้า เครื่องเชื่อมก๊าซ รถยก หรือเครื่องจักรที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้โดยสภาพที่อธิบดีประกาศกำหนด นายจ้างต้องใช้ลูกจ้างที่มีความชำนาญในการใช้เครื่องจักรนั้น และผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด

ข้อ 10 นายจ้างต้องดูแลให้พื้นบริเวณรอบเครื่องจักรอยู่ในลักษณะที่ปลอดภัย

ข้อ 11 นายจ้างต้องจัดให้มีวิธีการดำเนินการเพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ดังต่อไปนี้

  1. เครื่องจักรที่ใช้พลังงานไฟฟ้าต้องมีระบบหรือวิธีการป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วเข้าตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรและต้องต่อสายดิน
  2. เครื่องจักรที่ใช้พลังงานไฟฟ้าสายไฟฟ้าเข้าเครื่องจักรต้องเดินลงมาจากที่สูงกรณีเดินบนพื้นดินหรือฝังดินต้องใช้ท่อร้อยสายไฟที่แข็งแรงและปลอดภัย
  3. เครื่องจักรชนิดอัตโนมัติต้องมีสีเครื่องหมายปิด – เปิดที่สวิตช์อัตโนมัติตามหลักสากลและมีเครื่องป้องกันมิให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดกระทบสวิตช์อันเป็นเหตุให้เครื่องจักรทำงาน
  4. เครื่องจักรที่มีการถ่ายทอดพลังงานโดยใช้เพลาสายพานรอกเครื่องอุปกรณ์ล้อตุนกำลังต้องมีตะแกรงหรือที่ปิดคลุมส่วนที่หมุนได้และส่วนส่งถ่ายกำลังที่มิดชิดถ้าส่วนที่หมุนได้หรือส่วนส่งถ่ายกำลังสูงกว่า 2 เมตร  ต้องมีรั้วหรือตะแกรงสูงไม่น้อยกว่า 2 เมตรกั้นล้อม ไม่ให้บุคคลเข้าไปได้ ในขณะเครื่องจักรกำลังทำงาน

สำหรับสายพานแขวนลอยที่มีความเร็วไม่น้อยกว่า 540 เมตร/นาที หรือสายพานที่มีช่วงยาวเกินกว่า 3 เมตร หรือสายพานที่กว้างกว่า 20 เซนติเมตร หรือสายพานโซ่ ต้องมีเครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรนั้น

  1. เครื่องจักรที่มีใบเลื่อยวงเดือนต้องจัดให้มีเครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรนั้น
  2. เครื่องจักรที่ใช้เป็นเครื่องลับฝนหรือแต่งผิวโลหะต้องมีเครื่องปิดบังประกายไฟหรือเศษวัตถุในขณะใช้งาน
  3. เครื่องจักรที่ใช้ในการขึ้นรูปพลาสติกหรือวัสดุอื่นโดยลักษณะฉีดเป่าหรือวิธีการอื่นต้องมีเครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรนั้น

กรณีที่นายจ้างไม่สามารถจัดให้มีวิธีการดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกจ้างได้รับอันตราย

ตามวรรคหนึ่งได้ ต้องออกแบบอุปกรณ์ช่วยเพื่อป้องกันหรือกำหนดขั้นตอนการทำงานให้ปลอดภัย และแจ้งให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายทราบโดยไม่ชักช้า

จากข้อกำหนดในข้อ 11 เราจะเห็นว่า กฎหมายกำหนดให้สิ่งที่นายจ้างต้องทำนั้นมีมากมายจึงมีการจัดทำเป็นแบบตรวจสอบความปลอดภัยของเครื่องจักรขึ้นมา หรือที่เราเรียกว่า Machine Check Sheet เพื่อตรวจสอบดูว่า เครื่องจักร หรือการจัดการกับเครื่องจักรที่มีอยู่นั้น สอดคล้องกับกฎหมาย หรือเกิดความปลอดภัยแล้วหรือไม่ ซึ่งหากข้อไหน ที่ยังไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎหมาย ก็จะนำไปดำเนินการแก้ไข ให้สอดคล้องหรือเกิดความปลอดภัยต่อไป ซึ่งการทำงานกับเครื่องจักร ที่ปลอดภัยมากที่สุด ต้องคำนึงตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบเครื่องจักร เพราะถ้าเครื่องจักรถูกออกแบบมาตามหลักของความปลอดภัย โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุก็จะลดลงตามไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น หากเราออกแบบเครื่องจักรมา ให้เริ่มการทำงานด้วย 2 มือ (Two hand switch) เครื่องจักรย่อมมีความปลอดภัยมากกว่า การเริ่มการทำงานด้วยมือเดียว แต่ก่อนที่เราจะได้เครื่องจักรที่ถูกต้องตามหลักความปลอดภัยเราต้องมีแบบตรวจเครื่องจักรที่ตรงตามหลักความปลอดภัยก่อนแล้วเอาแบบตรวจสอบเครื่องจักรนั้นไปให้กับหน่วยงานที่ดูแลในเรื่องของการสั่งซื้อเครื่องจักรเพื่อให้บริษัทผู้ผลิตทำการผลิตเครื่องจักรตามที่บริษัทต้องการ และ เมื่อมีการติดตั้งเครื่องจักรเรียบร้อยแล้วต้องตรวจสอบหลังการติดตั้งอีกครั้งว่าเครื่องจักรนั้นปลอดภัยพร้อมใช้งานหลายบริษัทมีระบบยืนยันความปลอดภัยของเครื่องจักรโดยการติดสติกเกอร์ที่เครื่องจักรที่ผ่านการตรวจสอบแล้วว่าปลอดภัยพร้อมใช้งาน

การป้องกันอันตรายจากการทํางานกับเครื่องจักร

  • ทำเครื่องกำบังสำหรับเครื่องจักรที่มีจุดหมุน จุดเหวี่ยง หรือจุดเคลื่อนไหว
  • ทำการตรวจสอบความพร้อมใช้งานของเครื่องจักรก่อนเริ่มงาน
  • หากต้องทำการซ่อมบำรุงหรือทำความสะอาดให้หยุดเครื่องจักรก่อนทุกครั้ง และ กาดต้องซ่อมเครื่องจักรจะต้องทำการแขวนป้าย และทำระบบ Lock out – Tag out ทุกครั้ง
  • ทำระบบตัดการทำงานอัตโนมัติ interlock เช่นหากพนักงานยื่นมือเข้าไปภายในบริเวณจุดอันตรายระบบเซ็นเซอร์ก็จะตัดการทำงานของเครื่องจักรทันที
  • ทำแผงกันเพื่อแยกคนกับเครื่องจักรออกห่างจากกัน
  • และท้ายสุดพนักงานที่ทำงานกับเครื่องจักรควรใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล (PPE) ตลอดเวลาการทำงาน

การได้รับอบรมก่อนเริ่มปฏิบัติงาน เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้พนักงานปฏิบัติงานได้ถูกต้อง และปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นการอบรมการทำงานกับเครื่องจักรทั่วไป หรือหลักสูตรที่ระบุชัดเจน เช่น การอบรมการทำงานกับรถขุด รถแบคโฮ ควรไปถึงนายจ้างจะต้องจัดให้มีการตรวจรับรองเครื่องจักรประจำปีตามกฎหมายเป็นต้น สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยความร่วมมือทั้งนายจ้างและลูกจ้างเพื่อให้พนักงานทำงานได้อย่างปลอดภัย

 

ที่มาข้อมูล

https://www.safesiri.com/safety-when-working-with-machines/

การป้องกันอันตรายของเครื่องจักร 

 อันตรายที่เกินขึ้นเนื่องจาการทำงานกับเครื่องจักร มักปรากฎขึ้นในสถานประกอบกิจการต่างๆ อยู่เสมอ จากสถิติการประสบอันตรายจากการทำงานของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน ปี พ.ศ.2549 พบว่า มีคนงานที่ประสบอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงาน โดยถูกเครื่องจักร ชน กระแทก หนีบ หรือดึง เป็นจำนวนถึง 26,955 ราย หรือ คิดเห็น ร้อยละ 13.20 ของจำนวนผู้ที่ประสบอันตรายทั้งหมด 204,257 ราย สาเหตุ ของอันตรายที่เกิดขึ้นมักเกิดจากเครื่องจักรชำรุด เครื่องจักรมีสภาพที่ไม่ปลอดภัย รวมถึงความประมาทของผู้ทำงานกับเครื่องจักร จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีการป้องกันอันตรายมิให้เกิดขึ้นได้ และการป้องกันที่ได้ผลวิธีหนึ่ง คือ การติดตั้งเซฟการ์ด หรือ ฝาครอบที่เหมาะสมที่เครื่องจักร ณจุดที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ รวมถึง การแขวนป้ายเตือน ป้ายห้ามเดินเครื่องจักรในระหว่างการซ่อมบำรุง

   
 
   

แบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

        1. เครื่องส่งถ่ายกำลัง ได้แก่ เพลา สายพาน โซ่่ กระเืดื่อง เฟือง ปุลเ่ล่ เกียร์ อันตรายที่เกิดกับคนงานส่วนใหญ่
่ อยู่ในลักษณะของการถูกชน กระแทก หนีบรั้งเข้าไป ทำให้สูญเสียอวัยวะ เช่น มือ แขน เท้า ขา ใบหน้า ศรีษะ ผิวหนัง
เป็นต้น ทำให้คนงานพิการหรือเสียชีวิต
        2. เครื่องจักรซ่อมบำรุง ได้แก่ เครื่องกลึง เครื่องกัด เครื่องไส เครื่องเจาะ เครืิ่องเจียร ลักษณะของอันตรายมัก
อยู่ในรูปของอุบัติเหตุที่เกิดแก่ นิ้วมือ แขน เท้า ใบหน้า ลำตัว ศรีษะ และผิวหนัง และมักเกิดแก่คนงานที่ทำงานกับ
เครื่องจักรนั้นโดยตรง
        3. เครื่องจักรในกระบวนการผลิต ได้แก่ สายพานลำเลียงวัสดุ เครื่องปั้มโลหะ ปั้นจั่นยกเคลื่อนย้ายวัสดุ
เครื่องเป่า ฉีด หรือเครื่องจักรขึ้นรูปโลหะ/อโลหะต่างๆ อันตรายที่เกิดแก่คนงาน เกิดจากวัสดุกระเด็น วัสดุมีคมบาดมือ
เท้า หรือเครื่องจักรหนีบ ฉุดดึงมือ/เสื้อผ้าเข้าไป
 
 
    

     ป้องกันไม่ให้คนสัมผัสกับส่วนที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาของเครื่องจักร เ่ช่น เกียร์ ปุลเล่ สายพาน ใบมีดตัด ฯลฯ
 
      - ป้องกันมิให้คนสัมผัสกับลักษณะงานที่เป็นอันตรายมาก เช่น ป้องกันการกระเด็นของวัตถุ ถูกตา ใบหน้า ป้องกันถูกเลื่อยตัด
 
      - ป้องกันอันตรายที่เกิดจากการชำรุดของเครื่องจักร เนื่องจากเครื่องจักรขาดการบำรุงรักษา ใช้ผิดวัตถุประสงค์ หรือใช้เครื่องจักรเกินกำลัง เป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้เครื่องจักร
 
      -  ป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ หรือป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า เนื่องจากระบบไฟฟ้าชำรุด หรือ ต่อไว้ไม่ถูกต้อง
 
      - ป้องกันอันตรายเนื่องจากความบกพร่องของตัวผู้ใช้เอง เช่น ง่วง เหนื่อย เมื่อย เมื่อยล้า เจ็บป่วย เป็นต้น
 
   


ได้รับการออกแบบถูกต้องตามมาตรฐาน สามารถประกอบกับเครื่องจักรได้เหมาะสม ส่วนใหญ่จะติดตั้งมาพร้อมกับเครื่องจักรสามารถป้องกันอันตรายได้มากที่สุด และทั่วบริเวณการทำงานของคนงาน  เซฟการ์ดที่ติดตั้งจะต้องไม่ก่อให้มีจุดอ่อนเป็นชนวนให้เกิดอันตรายกับคนที่ใช้เครื่องจักรนั้น
   
เมื่อติดตั้งเซฟการ์ดจะต้องไม่รบกวน ขัดขวางการทำงานจนทำให้ประสิทธิภาพการทำงาน ลดลงหรือเกิดความไม่สะดวกสะบายต่อผู้ใช้เครื่องจักรมีความเหมาะสมกับงาน หรือเครื่องจักรนั้นโดยเฉพาะ สะดวกต่อการปรับแต่ง การตรวจสอบการบำรุงรักษา และการซ่อมแซม
ต้องทนทานต่อการกัดกร่อนของกรด ด่าง  วัสดุที่ใช้ต้องคงทน แข็งแรง สามารถรับน้ำหนัก แรงกระแทกและแรงกดได้เป็นอย่างดีฃตะแกรงลวดถักหรือตาข่าย ตาข่ายเหล็กยึด  แผ่นเหล็กเจาะรูหรือไม่เจาะรู  แผ่นไม้อัดหรือแผ่นพลาสติก แผ่นหรือแท่งพลาสติกไฟเบอร์

ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานพื้นที่ 5

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน
 

 

Visitors: 482,807