PPE

PPE ย่อมาจาก Personal protective equipment หรือแปลว่า “อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล” เป็นอุปกรณ์ที่มีไว้ให้ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่เป็นปราการด่านสุดท้าย มีตั้งแต่เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย หมวก แว่นตา หน้ากาก ถุงมือ และอุปกรณ์สวมใส่อื่นๆ ที่ออกแบบมาเพื่อผู้สวมใส่ยังปลอดภัยในขณะทำงาน หรือต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยง 

เช่น ป้องกันการบาดเจ็บทางร่างกาย ป้องกันความร้อน ป้องกันเคมี หรือว่าป้องกันแบคทีเรีย หรือละอองต่างๆ ที่อยู่ในอากาศเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ ที่มีความเสี่ยง

ชนิดของ PPE PPE แบ่งได้หลายชนิดตามส่วนของร่างกายที่ สวมใส่หรือได้รับการป้องกันที่สำ คัญ คือ

1. อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ  ใช้สำหรับป้องกันศีรษะ จากการกระแทก การเจาะทะลุของของแข็ง อันตรายจาก ไฟฟ้าและสารเคมีเหลว คือ พวกหมวกนิรภัย ต่างๆ

2. อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตา ใช้สำหรับ ป้องกันใบหน้าและดวงตาจากการกระทบกระแทกของของแข็ง การกระเด็นของสารเคมีหรือของเหลวอันตรายอื่น ๆ อันตรายจากงานเชื่อมโลหะ ตัวอย่างเช่น แว่นตานิรภัย ครอบตานิรภัย กระบังหน้า (Face Shields) ต่างๆ

3. อุปกรณ์ป้องกันมือและแขน ใช้สำ หรับป้องกัน อันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับมือและแขน จากสารเคมี วัตถุมีคม อุณหภูมิร้อนและเย็น ไฟฟ้า เชื้อโรค สิ่งสกปรกต่าง ๆ ตัวอย่างของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ ถุงมือชนิดต่าง ๆ ปลอกแขน และปลอกนิ้ว

4. อุปกรณ์ป้องกันขาและเท้า ใช้สำ หรับป้องกัน อันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับขาและเท้าจากการกระแทก ทับ หรือหนีบโดยวัตถุแข็ง การหกใส่ของสารเคมี การสัมผัส กับกระแสไฟฟ้า ตัวอย่างของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ รองเท้านิรภัย รองเท้ายาง รองเท้าพลาสติก 

5. อุปกรณ์ป้องกันลำตัว ใช้สำ หรับป้องกันอันตราย ที่อาจเกิดขึ้นกับลำ ตัวจากการกระเด็นของสารเคมีอันตราย โลหะหลอมเหลว การสัมผัสอุณหภูมิที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด รวมถึงไฟไหม้ การกระแทกกับวัตถุแข็งต่าง ๆ ตัวอย่างของ อุปกรณ์ชนิดนี้ คือ ชุดป้องกันสารเคมี ชุดป้องกันความร้อน แผ่นคาดลำ ตัว หรือเอี๊ยมทำ จากวัสดุชนิดต่าง ๆ

6. อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ ใช้สำ หรับป้องกัน ไม่ให้สารอันตรายหรือสารพิษที่ปนเปื้อนในอากาศเข้าสู่ ร่างกายทางระบบหายใจ ตัวอย่างของอุปกรณ์ชนิดนี้ คือ หน้ากากกรองอากาศชนิดต่าง ๆ ชุดส่งผ่านอากาศ (Airline Respirators) อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจแบบมีถังอากาศ พกพา (SCBA; Self Contained Breathing Apparatus) 

7. อุปกรณ์ป้องกันเสียงดัง ใช้สำหรับลดระดับเสียง ดังจากสภาพแวดล้อมการทำ งานให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย ก่อนเข้าสู่ระบบการได้ยินของผู้ปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพื่อป้องกัน การสูญเสียสมรรถภาพการได้ยิน ตัวอย่างของอุปกรณ์ชนิด นี้ คือ ที่อุดหูลดเสียง (Ear Plugs) ที่ครอบหูลดเสียง (Ear Muffs) 

8. อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง ใช้สำหรับป้องกัน ไม่ให้คนทำ งานในที่สูงตกลงสู่เบื้องล่าง ตัวอย่างของอุปกรณ์ ชนิดนี้ คือ เข็มขัดนิรภัย (Safety Belt) สายรัดตัวนิรภัย (Safety Harness) เชือกนิรภัย (Lanyards) สายช่วยชีวิต (Lifelines) 

*******************************

อุปกรณ์ PPE  2 ประเภท ตามการใช้งานคือ

1.ประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น ถุงมือยาง หน้ากากอนามัย หมวกคลุมผม 

 2.ประเภทที่หมุนเวียนกลับมาใช้ได้อีก เช่น แว่นตานิรภัย รองเท้า ชุดป้องกันร่างกาย

การเลือกใช้อุปกรณ์ PPE 

-มีความเหมาะสมกับอันตราย ลักษณะงาน มีประสิทธิภาพในการป้องกัน

-มีมาตรฐานรับรองจากหน่วยงาน/องค์กรที่เชื่อถือเป็นที่ยอมรับ

-มีขนาดพอดีกับแต่ละบุคคล รู้สึกสบายเมื่อสวมใส่

สวมหน้ากากอนามัยต้องทำ “Fit Test”

การสวมหน้ากากอนามัยต้องทำการ Fit Test โดยใช้มือทั้งสองทาบด้านข้างหน้ากาก แล้วหายใจเข้าหน้ากากจะยุบตัว หายใจออกหน้ากากจะพองตัว 

หลักการในการสวมอุปกรณ์ PPE ทางการแพทย์ 

1. ล้างมือ 

2. สวมถุงหุ้มขา (Leg Cover) 

3. สวมชุดป้องกันร่างกาย (กันน้ำ) 

4. สวมรองเท้าบูตแล้วล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล 

5. สวมถุงมือคู่ที่ 1 

6. สวมหน้ากาก N95 

7. สวมแว่นป้องกันตา 

8. ดึงฮู้ด ด้านหลังชุดมาคลุมศีรษะให้ครอบแว่นตาและใบหน้าและรูดซิปชุดป้องกันให้มิดชิด ปิดปาก

9. สวมเสื้อพลาสติกกันน้ำ 

10. สวมถุงมือคู่ที่ 2

11. สวมหน้ากาก Face Shield จากนั้นพร้อมปฏิบัติหน้าที่

 ที่มาของข้อมูล ขอบคุณผู้จัดทำด้วยครับ

https://www.wearesmarttech.com/ppe/

 
Visitors: 441,437