ความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องปั๊มโลหะ

ความปลอดภัยในการทำงานกับเครื่องปั๊มโลหะ


ได้เวลาอับเดทความรู้กันแล้วสำหรับคนที่การทำงานกับเครื่องปั๊มโหละ เครื่องพับเหล็ก เครื่องตัดเหล็ก กฎหมายได้ออกประกาศมาใหม่ๆ สดๆร้อน ๆ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2564 มีใจความสำคัญดังนี้

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564

ข้อ 3 เครื่องปั๊มโลหะ

ได้ให้นิยาม ไว้ว่า    “เครื่องปั๊มโลหะ” หมายความว่า เครื่องจักรที่ใช้สำหรับปั๊ม ตัด อัด เฉือน หรือขึ้นรูปชิ้นส่วนโลหะหรือวัสดุอื่น

และได้กำหนดให้นายจ้างต้องปฏิบัติดังนี้

ข้อ 22 นายจ้างต้องจัดให้มีเครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องปั๊มโลหะ ดังต่อไปนี้

(1) ที่ครอบปิดคลุมบริเวณที่เป็นอันตราย

(2) อุปกรณ์ที่สามารถหยุดเครื่องปั๊มโลหะได้ทันทีเมื่อส่วนของร่างกายเข้าใกล้บริเวณที่อาจเป็นอันตราย

(3) อุปกรณ์อื่นที่สามารถป้องกันมิให้ส่วนของร่างกายเข้าไปในบริเวณที่อาจเป็นอันตรายจากข้อ 23 กำหนดข้างต้น จึงทำให้เกิดเป็นมาตรฐาน ที่หลายๆบริษัทฯ ใช้ในการกำหนดมาตรฐาน เครื่องปั๊มโลหะขึ้นมา เช่น บริเวณจุดหนีบ จุดหมุน ต้องมีการติดตั้งการ์ด หรือครอบป้องกันอันตราย (Safety Guard) ต้องมีการติดตั้งปุ่มหยุดฉุกเฉิน (Emergency Stop)

หรือมีการติดตั้งม่านแสงนิรภัย (Area Sensor) เป็นต้น

นอกจากมีการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวแล้ว ต้องกำหนดให้มีการตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนการปฏิบัติงานด้วยเช่นกัน  

ข้อ 23 ในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องปั๊มโลหะ นายจ้างต้องปฏิบัติดังนี้

(1) เครื่องปั๊มโลหะที่ใช้มือป้อนวัสดุให้ใช้สวิตช์แบบต้องกดพร้อมกันทั้งสองมือเครื่องจึงทำงาน และสวิตช์ต้องห่างกันไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร

(2) เครื่องปั๊มโลหะที่ใช้เท้าเหยียบเพื่อให้เครื่องปั๊มทำงาน ให้มีที่พักเท้าโดยมีที่ครอบป้องกันมิให้ลูกจ้างเหนียบโดยไม่ได้ตั้งใจ และต้องดูแลมิให้แผ่นที่ใช้เท้าเหยีบอยู่ในลักษณะที่ลื่นไถลได้

(3) เครื่องปั๊มโลหะที่ใช้คันโยกให้ใช้คันโยกเพื่อให้เครื่องปั๊มทำงาน ให้ใช้คันโยกที่มีความมั่นคงแข็งแรง ลแะ มีสลักบนคันโยกที่สามารถป้องกันมิให้เครื่องทำงานด้วยเหตุบังเอิน

(4) เครื่องปั๊มโลหะที่ใช้น้ำหนักเหวี่ยง ให้ติดตั้งตุ้มน้ำหนักเหวี่ยงไว้สูงกว่าศีรษะกว่าผู้ปฏิบัติงานในระยะตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานตามข้อ 8 และต้องไม่มีสายไฟฟ้าอยู่ในรัศมีของน้ำหนักเหวี่ยง

ถึงแม้ว่ากฎหมายจะกำหนดรูปแบบของการทำงานกับเครื่องปั๊มโลหะไว้หลายรูปแบบ แต่ที่นิยมกันคือแบบกดพร้อมกันทั้งสองมือ (Two Hand Switch)  ในการเลือกใช้วิธีการทำงานที่เหมาะสมต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นด้วย เช่น จำนวนผู้ปฏิบัติงาน เป็นต้น

ข้อ 24 ห้ามนายจ้างดัดแปลง แก้ไข หรือปล่อยให้ลูกจ้างเปลี่ยนแปลงสมรรถนะของเครื่องปั๊มโลหะ หรือเครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องปั๊มโลหะ เว้นแต่นายจ้างได้จัดให้มีวิศวกรรับรองความปลอดภัย และต้องมีสำเนาเอกสารการรับรองไว้ให้พนักงานตรวจสอบความปลอดภัยตรวจสอบได้

ข้อ 25 นายจ้างต้องติดตั้งเครื่องปั๊มโลหะในพื้นที่ที่มั่นคง แข็งแรง และไม่ก่อให้เกิดการสั่นสะเทือน

เนื่องจากงานปั๊มโลหะใช้แรงในการกดพื้นที่ในการติดตั้งจึงเป็นเรื่องที่สำคัญหากพื้นที่ไม่มั่นคงแข็งแรงพออาจก่อให้เกิดอันตรายในขณะปฏิบัติงานได้

และกฎหมายยังได้กำหนด อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคล ที่นายจ้างต้องให้ลูกจ้างสวมใส่ไว้ใน หมวด 4 ของกฎกระทรวงฉบับนี้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ข้อ 119 นายจ้างต้องจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการอยู่ในลักษณะที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง หากนายจ้างไม่สามารถดำเนินการป้องกันแก้ไขอันตรายได้ นายจ้างต้องจัดหาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่สามารถป้องกันอันตรายนั้นให้ลูกจ้างสวมใส่

ข้อ 120 นายจ้างต้องจัดและดูแลให้ลูกจ้างใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ได้มาตรฐานตามประเภทและชนิดของงาน ดังต่อไปนี้

(4) งานปั๊มโลหะ ให้สวมแว่นตาชนิดใสหรือหน้ากากชนิดใส ถุงมือผ้า และรองเท้าพื้นยางหุ้มส้น

(8) งานควบคุมเครื่องจักร ให้สวมหมวกนิรภัยและรองเท้าพื้นยางหุ้มส้น

จากข้อกำหนดของกฎหมายข้างต้น นายจ้างจึงจำเป็นต้องออกกฎระเบียบ และบังคับให้ลูกจ้างต้องสวมใส่  PPE ดังกล่าว เป็นอย่างน้อย และโดยทั่วไปแล้ว งานปั๊มโลหะมักมีเสียงดัง  จึงมีความจำเป็นต้องสวมใส่ที่อุดหู หรือที่ครอบหู เพื่อลดเสียง (Ear Plugs or Ear Muff) และในบางสถานประกอบกิจการ ยังต้องจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินหากเสียงในสถานประกอบกิจการนั้น เกิน 85 เดซิเบลเอ โดยรายละเอียดการจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน สามารถดูได้จาก “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ”


ได้เวลาอับเดทความรู้กันแล้วสำหรับคนที่การทำงานกับเครื่องปั๊มโหละ เครื่องพับเหล็ก เครื่องตัดเหล็ก กฎหมายได้ออกประกาศมาใหม่ๆ สดๆร้อน ๆ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2564 มีใจความสำคัญดังนี้

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564

ข้อ 3 เครื่องปั๊มโลหะ

ได้ให้นิยาม ไว้ว่า    “เครื่องปั๊มโลหะ” หมายความว่า เครื่องจักรที่ใช้สำหรับปั๊ม ตัด อัด เฉือน หรือขึ้นรูปชิ้นส่วนโลหะหรือวัสดุอื่น

และได้กำหนดให้นายจ้างต้องปฏิบัติดังนี้

ข้อ 22 นายจ้างต้องจัดให้มีเครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องปั๊มโลหะ ดังต่อไปนี้

(1) ที่ครอบปิดคลุมบริเวณที่เป็นอันตราย

(2) อุปกรณ์ที่สามารถหยุดเครื่องปั๊มโลหะได้ทันทีเมื่อส่วนของร่างกายเข้าใกล้บริเวณที่อาจเป็นอันตราย

(3) อุปกรณ์อื่นที่สามารถป้องกันมิให้ส่วนของร่างกายเข้าไปในบริเวณที่อาจเป็นอันตรายจากข้อ 23 กำหนดข้างต้น จึงทำให้เกิดเป็นมาตรฐาน ที่หลายๆบริษัทฯ ใช้ในการกำหนดมาตรฐาน เครื่องปั๊มโลหะขึ้นมา เช่น บริเวณจุดหนีบ จุดหมุน ต้องมีการติดตั้งการ์ด หรือครอบป้องกันอันตราย (Safety Guard) ต้องมีการติดตั้งปุ่มหยุดฉุกเฉิน (Emergency Stop)

หรือมีการติดตั้งม่านแสงนิรภัย (Area Sensor) เป็นต้น

นอกจากมีการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวแล้ว ต้องกำหนดให้มีการตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนการปฏิบัติงานด้วยเช่นกัน  

ข้อ 23 ในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องปั๊มโลหะ นายจ้างต้องปฏิบัติดังนี้

(1) เครื่องปั๊มโลหะที่ใช้มือป้อนวัสดุให้ใช้สวิตช์แบบต้องกดพร้อมกันทั้งสองมือเครื่องจึงทำงาน และสวิตช์ต้องห่างกันไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร

(2) เครื่องปั๊มโลหะที่ใช้เท้าเหยียบเพื่อให้เครื่องปั๊มทำงาน ให้มีที่พักเท้าโดยมีที่ครอบป้องกันมิให้ลูกจ้างเหนียบโดยไม่ได้ตั้งใจ และต้องดูแลมิให้แผ่นที่ใช้เท้าเหยีบอยู่ในลักษณะที่ลื่นไถลได้

(3) เครื่องปั๊มโลหะที่ใช้คันโยกให้ใช้คันโยกเพื่อให้เครื่องปั๊มทำงาน ให้ใช้คันโยกที่มีความมั่นคงแข็งแรง ลแะ มีสลักบนคันโยกที่สามารถป้องกันมิให้เครื่องทำงานด้วยเหตุบังเอิน

(4) เครื่องปั๊มโลหะที่ใช้น้ำหนักเหวี่ยง ให้ติดตั้งตุ้มน้ำหนักเหวี่ยงไว้สูงกว่าศีรษะกว่าผู้ปฏิบัติงานในระยะตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานตามข้อ 8 และต้องไม่มีสายไฟฟ้าอยู่ในรัศมีของน้ำหนักเหวี่ยง

ถึงแม้ว่ากฎหมายจะกำหนดรูปแบบของการทำงานกับเครื่องปั๊มโลหะไว้หลายรูปแบบ แต่ที่นิยมกันคือแบบกดพร้อมกันทั้งสองมือ (Two Hand Switch)  ในการเลือกใช้วิธีการทำงานที่เหมาะสมต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นด้วย เช่น จำนวนผู้ปฏิบัติงาน เป็นต้น

ข้อ 24 ห้ามนายจ้างดัดแปลง แก้ไข หรือปล่อยให้ลูกจ้างเปลี่ยนแปลงสมรรถนะของเครื่องปั๊มโลหะ หรือเครื่องป้องกันอันตรายจากเครื่องปั๊มโลหะ เว้นแต่นายจ้างได้จัดให้มีวิศวกรรับรองความปลอดภัย และต้องมีสำเนาเอกสารการรับรองไว้ให้พนักงานตรวจสอบความปลอดภัยตรวจสอบได้

ข้อ 25 นายจ้างต้องติดตั้งเครื่องปั๊มโลหะในพื้นที่ที่มั่นคง แข็งแรง และไม่ก่อให้เกิดการสั่นสะเทือน

เนื่องจากงานปั๊มโลหะใช้แรงในการกดพื้นที่ในการติดตั้งจึงเป็นเรื่องที่สำคัญหากพื้นที่ไม่มั่นคงแข็งแรงพออาจก่อให้เกิดอันตรายในขณะปฏิบัติงานได้

และกฎหมายยังได้กำหนด อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคล ที่นายจ้างต้องให้ลูกจ้างสวมใส่ไว้ใน หมวด 4 ของกฎกระทรวงฉบับนี้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ข้อ 119 นายจ้างต้องจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการอยู่ในลักษณะที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง หากนายจ้างไม่สามารถดำเนินการป้องกันแก้ไขอันตรายได้ นายจ้างต้องจัดหาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่สามารถป้องกันอันตรายนั้นให้ลูกจ้างสวมใส่

ข้อ 120 นายจ้างต้องจัดและดูแลให้ลูกจ้างใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ได้มาตรฐานตามประเภทและชนิดของงาน ดังต่อไปนี้

(4) งานปั๊มโลหะ ให้สวมแว่นตาชนิดใสหรือหน้ากากชนิดใส ถุงมือผ้า และรองเท้าพื้นยางหุ้มส้น

(8) งานควบคุมเครื่องจักร ให้สวมหมวกนิรภัยและรองเท้าพื้นยางหุ้มส้น

จากข้อกำหนดของกฎหมายข้างต้น นายจ้างจึงจำเป็นต้องออกกฎระเบียบ และบังคับให้ลูกจ้างต้องสวมใส่  PPE ดังกล่าว เป็นอย่างน้อย และโดยทั่วไปแล้ว งานปั๊มโลหะมักมีเสียงดัง  จึงมีความจำเป็นต้องสวมใส่ที่อุดหู หรือที่ครอบหู เพื่อลดเสียง (Ear Plugs or Ear Muff) และในบางสถานประกอบกิจการ ยังต้องจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินหากเสียงในสถานประกอบกิจการนั้น เกิน 85 เดซิเบลเอ โดยรายละเอียดการจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน สามารถดูได้จาก “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ”

Visitors: 440,819