ยุทธการป้ายแดง

ยุทธการป้ายแดง
       คือการสำรวจสภาพปัจจุบันในสถานประกอบการณ์ โดยใช้วิธีการสะสางของที่ไม่จำเป็น
ซึ่งสะสมภายในโรงงาน โดยการใช้ป้ ายแดงแสดงสิ่งของเหล่านั้นอย่างชัดเจน ซึ่งเรียกว่า ยุทธการ
ป้ายแดง ซึ่งใช้เทคนิคการควบคุมการดำเนินงาน 5ส โดยใช้สายตา (Visual management)
เข้ามามีส่วนเพิ่มประสิทธิภาพ


เป้าหมายในการทำยุทธการป้ายแดง คือ
      1. ปรับปรุงโดยขจัดความสิ้นเปลืองของการใช้เนื้อที่ เนื่องมาจากการมีสิ่งของที่ไม่จำเป็น
อยู่ในพื้นที่ปฏิบัติการ
     2. ใช้ ส สะสาง เพื่อคัดแยกสิ่งของที่จำเป็นและไม่จำเป็นออกจากกัน
     3. การติดป้ายแดงที่เครื่องจักรและสินค้าคงคลังที่ไม่ได้ใช้งานภายในแผนการผลิต

 1. ให้หน่วยปฏิบัติการป้ายแดงเป็นแกนนำในการตัดสินใจติดป้ายแดงบนสิ่งของที่

ตัดสินใจว่าไม่มีความจำเป็น โดยใช้ติดป้ายแดง 1 แผ่น ต่อสิ่งของ 1 ชิ้น และให้รายงาน
จำนวนป้ายแดงต่อผู้จัดการฝ่าย
    2. จัดตั้งคณะกรรมพิจารณาว่าสิ่งของที่มีป้ายแดงภายในฝ่าย เพื่อดำเนินการคัดแยก
ควบคู่กับการขจัดทิ้ง
    3. สำหรับการตรวจสอบสินค้าคงคลังในสต๊อก ถ้าพบว่าสิ่งที่ได้คัดแยกไว้ว่าจะขจัดทิ้งก็
ให้นำออกจากพื้นที่ปฏิบัติการ

 

กลยุทธ์ป้ายแดง

   กลยุทธป้ายแดง

     ป้ายแดง (Red Tag)  คือแผ่นกระดาษสีแดงทั้ง 2 ด้าน ด้านหนึ่งเป็นแบบฟอร์ม สำหรับเขียนรายละเอียดว่า สิ่งที่ติดป้ายแดงนั้น  มีปัญหาหรือข้อควรปรับปรุงในการทำ 5ส หรือไม่ อย่างไร

      ป้ายแดงเป็นเครื่องมือที่ใช้กับ ส1: สะสาง ใช้เพื่อติดลงบนวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ไม่มีความจำเป็นต่อการปฏิบัติงาน

       การติตามกระดาษสีแดงลงบนสิ่งของที่ไม่จำเป็น เรียกว่า กลยุทธป้ายแดง  ศัตรูของป้ายแดง คือ ความสูญเปล่าและสิ่งของที่ไม่จำเป็น ป้ายแดงเป็นเทคนิคหนึ่งของการควบคุมด้วยการมองเห็น เหตุที่ใช้กระดาษสี่แดง เพราะสีแดงเป็นสี่ที่มองเห็นได้ชัด เมือมองดูก็เข้าใจได้ทันทีว่า  เป็นการชี้บ่งสิ่งที่ไม่จำเป็น เป็นสิ่งที่ล่าสมัย เป็นสิ่งที่ใช้ไม่บ่อย หรือเป็นสิ่งที่อยู่ผิดสถานที

      กระบวนการติดป้ายแดงในพื้นที่ทำงาน สามารถแบ่งได้เป็น 7 ขั้นตอน   ดังนี้

           1. เริ่มโครงการป้ายแดง

           2. กำหนดกลุ่มเป้าหมายป้ายแดง

           3. กำหนดมาตรฐานป้ายแดง

           4. จัดทำป้ายแดง

           5. ติดป้ายแดง

           6. ประเมินผลการติดป้ายแดง

           7. บันทึกผลการติดป้ายแดง

Visitors: 440,830