เอกสารที่ต้องส่งราชการ
เอกสารที่ต้องส่งราชการ
สวัสดีครับ
มาดูว่าเขาส่งเอกสารอะไรให้กับหน่วยงานราชาการ บ้างครับ
เริ่มจาก
1. ส่งรายงานผลการดำเนินงานของ จป.วิชาชีพ ในรอบ 3 เดือน ส่งที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด เนื้อหาของรายงานมีดังนี้
1.1. อบรมพนักงานเข้าใหม่ จป.เป็นวิทยากรเอง เดือนละ ครั้ง ถ่ายรูปการอบรม, ลงลายมือชื่อ ผู้เข้าอบรม เนื้อหาที่อบรมนำมาจากหนังสือที่เรียนมานั้นแหละเลือกเอา ต้องการจะให้เค้ารู้อะไรในโรงงานบ้าน ทำเพาเวอร์พอยเป็นป่าว มีกล้องถ่ายรูปดิจิตอลเปล่า มีคอมฯ ปริ้นสีเปล่า ใช้เป็นป่าว เก็บสะสมไว้ 3 เดือน เพื่อทำรายงาน
1.2. ส่งรายงานการแต่งตั้งจป.หัวหน้างาน จป.บริหาร ส่งไปอบรมก่อน 2 วัน
1.3. ส่งรายงานการแต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวฯ 2ปี/ครั้ง
1.4. ส่งนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมการทำงาน
1.5. รายงาน สารเคมี สอ.1 สอ.2 สอ.3 สอ.4 ปีละ 1 ครั้ง
1.6. ส่งรายงานการอบรมการป้องกันระงับอัคคีภัยและซ้อมหนีไฟ ปี 1 ครั้ง
1. 7. ส่งรายงาน การตรวจปั้นจั่น (คป.1) 3 เดือนครั้ง แค่นี้ก่อนจะไปทำงานแล้ว ไปเป็นจป.วิชาชีพ ทำงานสนุกดี มาก ๆ ชอบ ๆ
โรงงานที่ยังไม่มี จป.วิชาชีพก็ให้ จป.ระดับบริหาร หรือ หัวหน้างาน ทำหน้าที่แทนไปก่อน ทำอะไรเกี่ยวกับกิจกรรมความปลอดภัยแก่พนักงานก็ทำรายงานไป มาก น้อย ไม่เป็นไร....ส่งไปก่อน งานที่เป็นหลักของ จป. ก็คือ S H E
S คือ ความปลอดภัยในการทำงานทุกรูปแบบ ทุกกิจกรรม จป.ใหม่ ก็ต้องทำคู่มือการทำงานอย่างปลอดภัย ( ต่างกับ WI ตรงที่มีรายละเอียดของความปลอดภัยมากเป็นพิเศษ )
H คือ สุขภาพ อนามัย จป.ต้องดูแล การตรวจสุขภาพของพนักงาน ตั้งแต่ก่อนเข้าทำงาน ระหว่างการทำงาน ในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยง ( เสียงดัง ความร้อน สารเคมี )
E คือ สภาพแวดล้อมในการทำงาน ( ในตำราเรียกว่า Condition )
จป. ต้องตรวจตราเครื่องจักร เครื่องมือ ทุกประเภท ตรวจวัดสภาพของแสงสว่าง ความร้อน ฝุ่น สารเคมี อัคคีภัย ( ต้องจัดทำแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย ) ต้องดูแลการจัดเก็บ สถานที่ต้องเข้าระบบ 5 ส. ฯลฯ. เครื่องมือการตรวจตรา การปรับปรุงแก้ไข จป.ต้องจัดหา ให้เหมาะสมกับสภาพพนักงาน
***ทุกวัน จป. ต้องเดินตรวจทุกซอกทุกมุม ว่ามีอะไรเกิดขึ้น แล้วบันทึก รายงาน ต่อ ผู้บริหารโดยตรง **** ส่วนกฏหมายต่างๆ ก็หาดุได้ทั่วไปจ๊ะ.....a9z เองใหม่ๆก็มึน ต้องตัดความประหม่า ความกลัวว่างานจะไม่ดี ออกไป ผิดพลาด เปิ่น เด๋อ เราแก้ได้ รู้ได้เอง......
รายละเอียดบทบาทหน้าที่ของ จปว ด้านล่างนี้ น่าจะช่วยขยายความคห.1,2 ในด้านกฏหมายและรายละเอียด นะครับ (ผมเจอในเวปบอร์ดอื่น จึงนำมาเผยแพร่) ผิดถูกครบถ้วนประการใด ผู้รู้ท่าน อื่นๆ กรุราช่วยแนะนำเพิ่มเติมด้วยครับ.. บทบาทหน้าที่ของ จปว -แจ้งชื่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อขึ้นทะเบียนต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงและระดับวิชาชีพต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด ทุกสามเดือนตามปีปฏิทิน ทั้งนี้ ภายในเวลาไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนด
-เมื่อลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหายตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน ให้แจ้งการประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหายต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่นายจ้างทราบหรือควรจะได้ทราบถึงการประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหาย - ปิดประกาศมติของที่ประชุมคณะกรรมการเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานไว้ในที่เปิดเผยเพื่อให้ลูกจ้างทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันประชุม
- จัดทำสำเนาบันทึก รายงานการดำเนินงาน หรือรายงานการประชุมเกี่ยวกับการดำเนินการของคณะกรรมการและหน่วยงานความปลอดภัย เก็บไว้ในสถานประกอบกิจการเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันจัดทำ และพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบ
- ส่งสำเนารายชื่อคณะกรรมการและหน้าที่รับผิดชอบตาม ต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่แต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการ หน้าที่ของ จป. วิชาชีพ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (๒) วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย รวมทั้งกำหนดมาตรการป้องกันหรือขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง (๓) ประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทำงาน (๔) วิเคราะห์แผนงานโครงการ รวมทั้งข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่างๆ และเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง (๕) ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงานโครงการหรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน ( ๖) แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือตามข้อ ๓ (๗) แนะนำ ฝึกสอน อบรมลูกจ้างเพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน (๘) ตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือดำเนินการร่วมกับบุคคลหรือหน่วยงานที่ขึ้นทะเบียนกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นผู้รับรองหรือตรวจสอบเอกสารหลักฐานรายงานในการตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการทำงานภายในสถานประกอบกิจการ (๙) เสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการ และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง (๑๐) ตรวจสอบหาสาเหตุ และวิเคราะห์การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า (๑๑) รวบรวมสถิติ วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำรายงาน และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง (๑๒) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย
แบบรายงานที่กฎหมายกำหนด และ(ระยะเวลากำหนดส่ง) กม.ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง
1. แบบ แจ้งชื่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.1) (ส่งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง เป็น จป.)
2. แบบแจ้งเปลี่ยนชื่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.2) (ส่งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ จป. คนเดิมพ้นหน้าที่ )
3. แบบรายงานผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป. ว) (ส่งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดซึ่งกำหนดทุกไตรมาสของปี(3 เดือน))
กม.ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย
1. แบบแจ้งรายละเอียดของสารเคมีอันตรายในสถานประกอบการ (สอ.1) (ส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันที่มีสารเคมีอันตราย ไว้ในครอบครอง)
2. แบบรายงานความปลอดภัยและประเมินการก่ออันตรายของสารเคมีอันตรายอย่างน้อยปี ละ 1 ครั้ง (สอ.2) (ส่งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ประเมิน)
3. แบบรายงานผลการตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายในบรรยากาศบริเวณ สถานที่ทำงานและสถานที่เก็บสารเคมีอันตราย (สอ.3) (ส่งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ตรวจ)
4. แบบรายงานผลการตรวจสุขภาพลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย (สอ.4) (ส่งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบผลการตรวจ)
กม.ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น
1. บบตรวจสอบส่วนประกอบแลอุปกรณ์ของปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ต้องมีวิศวกรเครื่องกลเป็นผู้ตรวจสอบ ทุก ๆ 3 เดือน (คป.1)
2 แบบตรวจสอบส่วนประก อบแลอุปกรณ์ของปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ต้องมีวิศวกรเครื่องกล เป็นผู้ตรวจสอบ ทุก ๆ 3 เดือน (คป.2) (นายจ้างเก็บไว้เป็นหลักฐานให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ หรือ ส่งเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้ส่ง ทั้ง คป.1และ คป.2)
กม.ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับหม้อน้ำ
- เอกสารรับรองการใช้หม้อน้ำ (นายจ้างเก็บไว้เป็นหลักฐานให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบหรือ ส่งเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้ส่ง)
กม.การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการ
1. แบบรายงานการฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมหนีไฟ (รายผลการฝึกซ้อมภายใน 30 วันนับแต่วันเสร็จสิ้นการฝึกซ้อม)
2. กรณีนายจ้างจัดให้มีการฝึกซ้อมเองให้ส่งแผนและรายละเอียดการฝึกซ้อมต่อ อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายก่อนทำการฝึกซ้อม (ส่งแผนเพื่อให้อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย พิจารณา ไม่น้อยกว่า 30 วัน)
กม.การทำงานในสถานที่อับอากาศ
- ใบอนุญาตให้ปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศ (แบบ อ.1) (นายจ้างเก็บไว้เป็นหลักฐานให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบหรือ ส่งเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้ส่ง ) กม.คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีคณะกรรมการความปลอภัย ฯ ตามที่กฎหมายกำหนด (นายจ้างส่งรายชื่อคณะกรรมการและหน้าที่รับผิดชอบภายใน 15 วันนับแต่วันที่แต่งตั้งคณะกรรมการ หรือ มีคณะกรรมการชุดใหม่ ) ส่วนกรณีของรัฐวิสาหกิจก็ใช้กม.ของประกาศคณะกรรมการรัฐวิสากิจซึ่งกำหนด แบบที่รายงานออกมาเหมือนกัน(แบบตัวย่อต่างกัน แต่เนื้อหามีความใกล้เคียงกัน) ส่วนกม.อื่นๆก็มีกำหนดให้ส่งเหมือนกันขึ้นอยู่กับกม.หรือพรบ.ฉบับบนั้นๆกำหนดให้